Page 508 - 100
P. 508
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
นอกจากนี้ได้มีโอกาสศึกษาดูงานเกี่ยวกับกาชาดฟิลิปปินส์และงานสังคมสงเคราะห์ขององค์กรการกุศล
ต่างๆ เช่น Associated Charity of Manila องค์การปราบวัณโรค องค์การช่วยเหลือคนโรคจิต ฯลฯ เป็นเวลา
รวมทั้งสิ้น ๔ เดือน
ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ ได้รับทุนจากสันนิบาตกาชาดไปศึกษาวิชาบริหารโรงพยาบาลและโรงเรียน
พยาบาล (Hospital and Training School Administration) ที่ Bedford College for Women, University
of London and College of Nursing, London เป็นเวลา ๑ ปี และสันนิบาตกาชาดยังได้ให้ทุนค่าเดินทาง
ี
ไปดูงานต่อเก่ยวกับโรงพยาบาล โรงเรียนพยาบาล และสภากาชาดของประเทศต่างๆ ในประเทศอังกฤษ
สก๊อตแลนด์และประเทศอื่นๆ ในยุโรปอีกหลายประเทศ รวมทั้งศึกษาดูงานที่ Singapore General Hospital
ประเทศสิงคโปร์และโรงพยาบาลที่ปีนัง ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๑
ทั้งนี้ขณะที่อยู่ในลอนดอน สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยามได้ขอให้เป็นผู้แทนเข้าประชุมสภาพยาบาล
ระหว่างประเทศ (International Council of Nurses : ICN) ที่จัดขึ้น ณ กรุงลอนดอน ในปีพุทธศักราช
๒๔๘๐ และ สภาพยาบาลระหว่างประเทศได้มีจดหมายเชิญให้สมาคมฯส่งผู้แทนเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์
เมื่อกลับจากประเทศฟิลิปปินส์ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ สภากาชาดไทยได้บรรจุให้ท�างานในต�าแหน่ง
หัวหน้าสถานีอนามัย ๒ (สุขุมาลย์อนามัย) ท่านได้ปฏิบัติงานและช่วยปรับปรุงกิจการของสถานีอนามัยแห่งนี้
๑
เป็นเวลา ๑ /๒ ปี จึงได้รับค�าสั่งให้ย้ายเข้าท�างานในต�าแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ี
�
ี
�
และทาหน้าท่เป็นครูอบรมนักเรียนพยาบาลด้วย ในโอกาสน้ผู้อานวยการโรงพยาบาลและหัวหน้าพยาบาลได้ขอให้
ปรับปรุงการเรียนในโรงเรียนนางพยาบาล การอยู่เวรและการปฏิบัติงานในตึกคนไข้ให้มีความทันสมัยและเหมาะสม
ในการนี้ท่านได้จัดระบบการศึกษาและการท�างานของพยาบาล พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการเข้าเวรของพยาบาล
จากการเข้าเวร ๔ วันครั้งมาเป็นระบบเวรละ ๘ ชั่วโมง ซึ่งเป็นที่มาของระบบเวร เช้า บ่าย ดึก ที่ปฏิบัติ
อยู่ในปัจจุบัน ท�าให้นางพยาบาลและนักเรียนพยาบาลมีเวลาได้ผ่อนคลายมากขึ้น
ุ
ี
ี
่
ในช่วงเวลาทประเทศไทยเข้าร่วมในเหตุการณ์สงครามมหาเอเชยบูรพาและโรงพยาบาลจฬาลงกรณ์
ต้องรับเชลยศึกไว้รักษาในโรงพยาบาลโดยจ�ากัดเขตนั้น คุณหญิงสมานใจ ด�ารงแพทยาคุณ ได้รับมอบหมาย
ี
ให้เป็นผู้ควบคุมพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเชลยศึกท่มาจากค่ายกักกัน และเม่อมีการท้งระเบิดในพระนคร
ิ
ื
ท่านได้ออกไปปฏิบัติงานกับรถบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางอากาศ จนได้รับเหรียญช่วยราชการเขตภายใน
จากทางราชการ
ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนกอนามัยสภากาชาดไทยอีกต�าแหน่งหนึ่ง
โดยดูแลสถานีอนามัยที่อยู่ต่างจังหวัด ๘ สถานี และในพระนครอีก ๒ สถานี และต้องเพิ่มงานสอนนักเรียน
พยาบาลเกี่ยวกับวิชาอนามัยด้วย
506 507