Page 400 - 100
P. 400
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
วิวัฒนาการ
ของเครื่องแบบและการแต่งกาย
ั
ื
เคร่องแบบและการแต่งกายของนักเรียนพยาบาลต้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ จนถึงปัจจุบันเป็นวัฒนธรรม
การแต่งกายที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยในแต่ละห้วงเวลา การศึกษาวิวัฒนาการ
ของเครื่องแบบและการแต่งกายของนักเรียนพยาบาลและนางพยาบาลในระยะเวลา ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ได้จากการ
สัมภาษณ์อาจารย์และศิษย์เก่าอาวุโส ภาพถ่าย ข้อบังคับและระเบียบการที่เกี่ยวข้อง
เครื่องแบบฝึกปฏิบัติการพยาบาลในอดีต
๑. เครื่องแบบคอสี่เหลี่ยม (พุทธศักราช ๒๔๕๗-๒๔๗๙)
ี
ในช่วงปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ - ๒๔๖๐ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการตราระเบียบเก่ยวกับการแต่งกาย
และเครื่องแบบของนักเรียนนางพยาบาลอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่พบหลักฐานจากภาพถ่ายของนักเรียน
นางพยาบาลและนางพยาบาลที่ส�าเร็จการศึกษาในช่วงปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ - ๒๔๕๙ ค�าบอกเล่าและบันทึก
ของท่านผู้หญิง ถวิลหวัง ทุติยะโพธิ อดีตผู้ปกครองโรงเรียนนางพยาบาลและอดีตหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาล
๑
จุฬาลงกรณ์ พบว่าการแต่งกายและเครื่องแบบของนักเรียนนางพยาบาลและนางพยาบาลที่ส�าเร็จการศึกษาใน
ช่วงเวลาดังกล่าวมีรูปแบบเหมือนกัน ดังนี้
๑.๑ เครื่องแบบ
ี
ี
ื
- เป็นชุดสีขาวคอส่เหล่ยม แขนยาวเลยข้อศอกเล็กน้อย แขนเส้อจีบพองเล็กน้อย มีจีบประมาณ
๓ จีบ ปลายแขนมีขอบกว้างประมาณ ๕ เซ็นติเมตร มีกระดุมหนีบรัดที่ใต้ข้อศอก ๒ กระดุม ตัวเสื้อยาวคลุมเข่า
ผ่าอกซีกข้างซ้ายโดยตลอด ติดกระดุมหนีบตามแนวอกซีกข้างซ้าย ๙ กระดุม มีกระเป๋าข้างละ ๑ กระเป๋า มีจีบ
ติดเป็นกลีบพาดบ่า ๒ ข้าง ยาวถึงชายเสื้อทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
- มีแผ่นผ้ากว้าง ๕ เซ็นติเมตรเย็บติดเสื้อยาวตามส่วนของเอวรัดที่เอวนอกเสื้อ ที่ปลายแผ่นผ้า
มีกระดุมหนีบส�าหรับหนีบติดกันได้
- นุ่งโจงกระเบนสีน�้าเงินไว้ในกระโปรง
๑.๒ เครื่องหมาย
- เฉพาะผู้ที่สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรเป็นนางพยาบาลแล้ว มีเครื่องหมายกาชาดสีแดงขนาด
ใหญ่ติดตรงกลางอกเสื้อ ส่วนนักเรียนนางพยาบาลนั้นไม่มีกาชาดติด
๑ ถวิลหวัง ทุติยะโพธิ, ท่านผู้หญิง. ละครตัวเดียว, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ประเสริฐศิริ, ๒๕๑๗), ๕๒.
398 399
399