Page 85 - 100
P. 85
๑๐ ทศวรรษ ที่ยั่งยืน...สู่ทศวรรษหน้าที่ท้าทาย
การสั่งสอน
๑) ศริระศาสตร์
๒) วิธีพยาบาลคนเจ็บไข้ทั่วไป
๓) สุขาภิบาล
๔) ยาบางอย่าง
๕) บาดแผล
๖) วิธีเลี้ยงเด็ก
๗) จรรยา
การฝึกหัด
๑) ประจ�าตึกคนเจ็บไข้ฝ่ายหญิง ไม่ต�่ากว่า ๓ เดือน
๒) ประจ�าตึกคนเจ็บไข้ฝ่ายชาย ไม่ต�่ากว่า ๓ เดือน
๓) ประจ�าห้องตรวจโรค ไม่ต�่ากว่า ๒ เดือน
๔) ประจ�าห้องผ่าตัดไม่ต�่ากว่า ๒ เดือน
๕) ประจ�ากองผดุงครรภ์และฝึกสตรี ไม่ต�่ากว่า ๒ เดือน
๖) ท�าเครื่องใช้ในการรักษาพยาบาล (ท�าเฝือก, ท�าผ้าพันแผล ฯลฯ)
๗) ท�าเครื่องใช้ในการบ�ารุงความสุขของคนเจ็บไข้ (ซ่อมแซมที่นอนหมอนมุ้งและการเรือน)
ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ เมื่อสภากาชาดสยามรับโอนโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กลับคืนมาด�าเนินการเอง
ได้ขยายเวลาเรียนออกเป็น ๒ ปี ปีที่ ๑ เรียนวิชาชั้นต้น ปีที่ ๒ ฝึกหัดและเรียนวิชาเพิ่มเติม
การสอบไล่มีก�าหนดปีละ ๒ ครั้ง กลางปี ๑ ครั้ง และปลายปี ๑ ครั้ง สอบในวิชาต่างๆ ที่ก�าหนดใน
หลักสูตร และทดลองความช�านาญในห้องคนเจ็บไข้ ในปีแรก (พุทธศักราช ๒๔๕๗) มีผู้สอบไล่ได้ จ�านวน ๔ คน
ปีที่สอง (พุทธศักราช ๒๔๕๘) มีผู้สอบไล่ได้อีก ๑๐ คน
การประชุมแจกประกาศนียบัตร์พยาบาล ผู้ใดที่สอบวิชาพยาบาลได้ กรรมการผู้สอบไล่จะได้ออก
ประกาศนียบัตร์และจ่ายเข็มเครื่องหมายสมาชิกของสภากาชาดให้ไว้เป็นส�าคัญ การแจกประกาศนียบัตรนี้
สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนารถ สภานายิกาสภากาชาด พร้อมด้วยจอมพลสมเด็จพระเจ้าน้อง
ยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ อุปนายกสภากาชาดสยาม ได้เสด็จ
พระราชด�าเนินมาทรงแจกครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๕๙ เนื่องในการเปิดตึก
ปัญจมะราชินี และเสด็จมาแจกครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๐ เนื่องในโอกาส
เปิดตึกวชิราวุธและตึก จิระประวัติ ๓
๓ สภากาชาดสยาม, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงเรียนนางพยาบาล สถานปาสเตอร์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๒ (กรุงเทพฯ :
ส�านักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ กรมเสมียนตรา, ๒๕๓๔), ๒๐๙.
84