Page 91 - 100
P. 91
๑๐ ทศวรรษ ที่ยั่งยืน...สู่ทศวรรษหน้าที่ท้าทาย
หลักสูตรที่จะใช้ในการฝึกหัดสั่งสอนนั้น หัวหน้าพแนกโรงเรียนนางพยาบาลเป็นผู้จัดท�า แล้วน�าเสนอ
ผู้อ�านวยการกองบันเทาทุกข์พิจารณา เมื่อเห็นสมควรก็จะได้ประกาศใช้เป็นครั้งคราว โรงเรียนนางพยาบาล
ส�านักอื่น ถ้ามีความประสงค์จะน�าหลักสูตรวิชาพยาบาลของสภากาชาดไปใช้ฝึกสั่งสอนนักเรียนก็ได้ แต่ต้องขอ
อนุญาตต่อผู้อ�านวยการกองบันเทาทุกข์ก่อน นักเรียนในโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรของสภากาชาดมีสิทธิ์เข้าสอบไล่
ื
ความรู้เพ่อรับประกาศนียบัตรการพยาบาลของสภากาชาดสยามได้ และสภากาชาดจะถือว่านักเรียนพวกน ี ้
เป็นนักเรียนนอกบ�ารุง เนื้อหาวิชาในหลักสูตรนี้ยังคงเหมือนกับหลักสูตรในช่วงปีพุทธศักราช ๒๔๖๐-๒๔๖๕
เพียงแต่เพิ่มวิชาเฉพาะโรคสตรีและการคลอดบุตรในการเรียนชั้นปีที่ ๓ เนื่องจากโรงเรียนได้ท�าการเปิดสอนวิชา
ผดุงครรภ์ขึ้นเอง โดยไม่ต้องส่งนักเรียนชั้นปีที่ ๓ ไปเรียนวิชาผดุงครรภ์ที่โรงเรียนสูติกรรม โรงพยาบาลศิริราช
อีกต่อไป ส�าหรับวิธีการสอนยังคงใช้วิธีการบรรยายจดตามค�าบอก และการสาธิตท�าให้ดูจริงๆ ในตึกผู้ป่วย หลัง
จากนั้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติกับผู้ป่วย โดยมีหัวหน้าตึกและพยาบาลรุ่นพี่คอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด การลง
ฝึกงานในตึกผู้ป่วย ชั้นปีที่ ๑ ให้เรียนตอนเช้าและฝึกปฏิบัติงานตอนบ่าย ส่วนชั้นปีที่ ๒ และ ๓ ฝึกปฏิบัติงาน
ตอนเช้า และเข้าชั้นเรียนตอนบ่าย ชั่วโมงไหนไม่มีเรียนต้องลงฝึกปฏิบัติงานในตึกผู้ป่วยทั้งหมด นอกจากนี้ยัง
มีการฝึกปฏิบัติงานเวรกลางวันและเวรกลางคืนด้วย การสอบไล่ยังคงใช้เกณฑ์เหมือนเดิม ส่วนวิชาผดุงครรภ์
ก�าหนดว่าจะต้องท�าการคลอดบุตรไม่ต�่ากว่า ๔๐ คน ถึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบได้ เมื่อส�าเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิ
ประกาศนียบัตรวิชาพยาบาลและการผดุงครรภ์ สามารถขึ้นทะเบียนประกอบโรคศิลปะสาขาการพยาบาล
ชั้น ๑ ได้ตามกฎหมาย
นอกจากนี้ระเบียบการโรงเรียนนางพยาบาลฯ พุทธศักราช ๒๔๖๗ ยังก�าหนดรายละเอียดเพิ่มเติมใน
ประเด็นส�าคัญ อาทิ
การสอบไล่ ผู้ที่จะเข้าสอบไล่ ต้องได้เล่าเรียนวิชาจบหลักสูตรของสภากาชาดสยามตามที่ก�าหนดไว้
และได้ฝึกหัดท�างานในโรงพยาบาลที่สภากาชาดสยามได้รับรองแล้วไม่ต�่ากว่า ๑ ปี โดยเป็นที่พอใจของหัวน่า
โรงพยาบาลนั้นๆ ส�าหรับนักเรียนปีที่ ๑ ต้องได้เรียนวิชาพยาบาลไม่ต�่ากว่า ๗๐ ใน ๑๐๐ และต้องได้ท�าการ
ฝึกหัดไม่ต�่ากว่า ๕๐ ใน ๑๐๐ ของเวลาที่ได้ก�าหนดไว้ ส่วนนักเรียนปีที่ ๒ ต้องได้เรียนวิชาไม่ต�่ากว่า ๖๐
ใน ๑๐๐ และต้องได้ท�าการฝึกหัดไม่ต�่ากว่า ๗๐ ใน ๑๐๐ ของเวลาที่ได้ก�าหนดไว้ การจ่ายนักเรียนไปท�าการ
นอกหน้าที่ เช่น ในการบรรเทาทุกข์ ในการเรี่ยรายเงิน ให้นับว่าเป็นการฝึกหัดด้วย และต้องมีแต้มความ
ประพฤติไม่ต�่ากว่า ๖๐ ใน ๑๐๐
การออกข้อสอบ เมื่อผู้อ�านวยการกองบรรเทาทุกข์สั่งตั้งกรรมการสอบไล่ขึ้นแล้ว บรรดาครูจักต้องท�า
ข้อสอบ (ค�าถาม) ในวิชาที่ตนสอน ส่งให้ประธานกรรมการไม่ต�่ากว่า ๑๐ ข้อ ข้อสอบนี้ต้องถือว่าเป็นความลับ
และให้มีกรรมการเลือกข้อสอบ ๒ นาย ซึ่งไม่ใช่ครูผู้ออกข้อสอบ ส่วนการคุมนักเรียนในเวลาสอบ ประธาน
กรรมการจะเป็นผู้ก�าหนด ซึ่งกรรมการผู้คุมสอบต้องไม่ใช่ครูหรือเจ้าของวิชาที่สอบ
90