Page 95 - 100
P. 95

๑๐ ทศวรรษ ที่ยั่งยืน...สู่ทศวรรษหน้าที่ท้าทาย



                      การพัฒนาหลักสูตรครั้งที่ ๔ (พุทธศักราช ๒๔๗๖-๒๔๙๘)



                                                                          ั
                                              ี
                      การพัฒนาหลักสูตรในช่วงน้ถือเป็นช่วงทองของการพัฒนาท้งทางด้านการศึกษาและการพยาบาล
               ด้วยขณะนั้นสภากาชาดสยามได้รวมแผนกพยาบาลกับแผนกการศึกษาเข้าด้วยกัน  โดยหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ
               กมลาศน์  ทรงด�ารงต�าแหน่งหัวหน้าพยาบาลรับผิดชอบงานทั้งด้านบริการพยาบาลและโรงเรียนนางพยาบาล

               ดังนั้นในช่วงนี้พยาบาลจึงได้รับการส่งเสริมให้ไปศึกษาต่อ  ณ  ประเทศฟิลิปปินส์  อังกฤษ  และอเมริกา  เพื่อ
               พัฒนาความรู้และทักษะทางการพยาบาลให้สูงขึ้น  เพื่อกลับมาเป็นก�าลังส�าคัญในการปรับปรุงทั้งด้านบริการ
               พยาบาลและการศึกษาพยาบาล  โดยรับผิดชอบหน้าที่เป็นครูสอนวิชาการพยาบาลและการประชานามัยพิทักษ์

               เป็นหัวหน้าตึก  และผู้ตรวจการพยาบาล  ประจวบกับในช่วงนี้มีบุคคลที่มีบทบาทส�าคัญต่อวิชาชีพการพยาบาล
               ท่านหนึ่ง  คือ  นางสาวสมาน  บุญญะวิตร์  (คุณหญิงสมานใจ  ด�ารงแพทยคุณ)  ส�าเร็จการศึกษาวิชาพยาบาล

               จากประเทศอังกฤษและฟิลิปปินส์  มาท�าหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายอบรมและครูสอนวิชาการพยาบาลท�าให้พยาบาล
               มีความรู้มากขึ้น  อีกทั้งมีการปรับปรุงสภาพการท�างานของพยาบาลเป็น  ๓  ผลัด  ผลัดละ  ๘  ชั่วโมง  ส่งผลให้
               นักเรียนพยาบาลซึ่งต้องท�างานด้วยและเรียนหนังสือด้วยได้มีเวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้น



                      ในด้านการศึกษา  ท่านได้ปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการสอนการพยาบาลทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

               ให้มีมาตรฐานตามหลักการวิชาการ ให้เกิดผลดีกับผู้ป่วยมากขึ้น


                      ด้านการพัฒนาหลักสูตร  ได้มีการควบรวมหลักสูตรการพยาบาลและการอนามัย  เนื่องจากสภากาชาด

               สยามได้ยกเลิกโรงเรียนนางอนามัยของกองบรรเทาทุกข์ในปีพุทธศักราช  ๒๔๗๕  แล้วน�ามาจัดสอนรวมกับ
               หลักสูตรการพยาบาลของโรงเรียนนางพยาบาลเปลี่ยนชื่อหลักสูตรใหม่เป็น  หลักสูตรการพยาบาลและ

               การอนามัยใช้เวลาเรียน  ๓  ปี  ๖  เดือนเท่าเดิม  โดยเรียนหลักสูตรการพยาบาลและผดุงครรภ์  ๓  ปี
               และเรียนวิชาผดุงครรภ์และอนามัยต่ออีก  ๖  เดือน  เพื่อเป็นนางอนามัย  รับนักเรียนที่มีพื้นความรู้มัธยม
               ศึกษาปีที่  ๖  (เท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๓  ในปัจจุบัน)  เมื่อส�าเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตร

               ๒ ใบ คือ ประกาศนียบัตรวิชาการพยาบาล และประกาศนียบัตรวิชาผดุงครรภ์และอนามัย



                      หลักสูตรที่ปรับปรุงในช่วงนี้เป็นหลักสูตรที่มีความทันสมัยและเป็นสากลมากขึ้น  โดยเพิ่มรายวิชาใน
               การเรียนชั้นปีที่ ๔ ที่เน้นการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ครอบคลุมทุกช่วงวัย อีกทั้งมีการระบุรายวิชาที่เรียน
               ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในแต่ละชั้นปีไว้อย่างชัดเจน



















                                                             94
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100