Page 92 - 100
P. 92
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
การให้แต้มและการตัดสินได้ตก ให้กรรมการประชุมตัดสินเมื่อเสร็จการสอบแล้ว ส�าหรับนักเรียนปีที่ ๑
ในวิชาอวัยวะวิทยา สุขวิทยา สรรพคุณยา ปฐมพยาบาล และข้อบังคับระเบียบการ ต้องได้แต้ม ๔๐ ใน ๑๐๐
ในวิชาการพยาบาล จรรยา การปฏิบัติการหรือการฝึกหัดต้องได้แต้ม ๕๐ ใน ๑๐๐ แต้มรวมของวิชาทั้งหมด
ต้องไม่ต�่ากว่า ๕๐ ใน ๑๐๐ และมีแต้มความประพฤติเหลืออยู่ไม่ต�่ากว่า ๖๐ ใน ๑๐๐ เกณฑ์ที่ได้เกียรติยศ
ส�าหรับผู้ได้แต้ม ๕๐ ใน ๑๐๐ ทุกวิชา และแต้มความประพฤติต้องเหลือไม่ต�่ากว่า ๗๕ ใน ๑๐๐ และเป็นที่
๑ ที่ ๒ หรือ ที่ ๓ อนุญาตให้เข้าสอบไล่ชั้นปีที่ ๒ ต่อไป และเมื่อสอบไล่ได้ชั้นปีที่ ๒ ก็จะได้เลื่อนขั้นเรียน
ชั้นปีที่ ๓ ต่อไปทีเดียว
ส�าหรับนักเรียนชั้นปีที่ ๒ และชั้นปีที่ ๓ ต้องได้แต้ม ๕๐ ใน ๑๐๐ ทุกวิชา เว้นแต่แต้มความประพฤติ
ต้องมีเหลือไม่ต�่ากว่า ๖๐ ใน ๑๐๐ เกณฑ์ที่ยกให้ คือ ผู้ที่ตกไม่เกิน ๒ วิชา และได้แต้มในวิชาที่ตกนั้นไม่น้อยกว่า
๔๐ แต่ได้แต้มรวมไม่ต�่ากว่า ๖๐ ใน ๑๐๐ กับทั้งไม่ตกในแต้มความประพฤติและแต้มปฏิบัติการ
ั
ั
ี
ี
ิ
ึ
การให้รางวัล นักเรียนคนใดท่สอบไล่ได้เป็นท่ ๑ ในช้นใดช้นหน่งจะได้รับรางวัลส่งของท่ระลึก
ี
ส่วนนักเรียนที่เป็นหัวน่าประจ�าชั้น และหัวน่าประจ�าห้องจะได้เข้าจับฉลากรับสิ่งของรางวัลพร้อมกับครูผู้ฝึกหัด
สั่งสอนเมื่อเสร็จการสอบไล่แล้ว ๑๐
ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๗ โรงพยาบาลแม๊คคอร์มิ๊คได้ตั้งโรงเรียนพยาบาลขึ้น โดยขอใช้หลักสูตรของ
โรงเรียนนางพยาบาลสภากาชาดสยามและเมื่อสอบไล่ก็ใช้ข้อสอบที่ได้ขอให้สภากาชาดสยามส่งไปให้ ซึ่งปรากฏ
ตามพระด�ารัสของจอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายก
�
ผู้อานวยการสภากาชาดสยาม ในโอกาสประทานพระโอวาทแก่สมาชิกสมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม
ในการประชุมใหญ่ประจ�าปีที่ ๑ ณ ตึกสุทธาทิพย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม
พุทธศักราช ๒๔๗๐ ความตอนหนึ่งว่า “...... ในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้มีโรงเรียนนางพยาบาลตั้งขึ้นอีกส�านักหนึ่ง
คือที่โรงพยาบาลแม็คคอร์มิ๊ค ของคณะมิสชั่นอเมริกันที่เชียงใหม่ การเรียนใช้หลักสูตรของสภากาชาดสยาม
การสอบไล่ก็ขอให้สภากาชาดสยามท�าให้โดยส่งข้อสอบขึ้นไป....”
สืบเนื่องจากสภากาชาดสยามได้ตั้งสถานีประชานามัยพิทักษ์ขึ้น ๒ แห่ง ในพระนคร ในปีพุทธศักราช
๒๔๖๖ เพื่อทดลองวิธีด�าเนินการให้บริการด้านการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ พบว่ามีผู้นิยมและใฝ่ใจใน
การอนามัยพิทักษ์ยิ่งขึ้น จึงด�าเนินการต่อโดย จัดตั้งโรงเรียนนางสุขาภิบาลขึ้น เมื่อเดือนมิถุนายน พุทธศักราช
๒๔๖๗ เพื่อฝึกหัดอบรมผู้ที่จะเป็นนางสุขาภิบาลให้มีความรู้ความช�านาญ มีก�าหนดเรียน ๖ เดือน ได้รับ
นักเรียนสตรีท่เสร็จการศึกษาในโรงเรียนนางพยาบาลของสภากาชาดสยามกับโรงเรียนผดุงครรภ์และการ
ี
พยาบาลของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ มีผู้สมัครเรียน ๘ คน ถึงเดือนธันวาคม สอบได้ทั้ง
๑๑
๘ คน ได้เข้าประจ�าท�างานตามสถานีประชานามัยพิทักษ์ตั้งแต่นั้นมา ครูพยาบาลผู้สอนนักเรียนนางอนามัย
๑๐ สภากาชาดสยาม, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงเรียนนางพยาบาล สถานปาสเตอร์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๒ (กรุงเทพฯ:
ส�านักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ กรมเสมียนตรา, ๒๕๓๔), ๙-๑๗.
๑๑ สภากาชาดสยาม, ต�านานสภากาชาดสยาม เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งแรก (พระนคร: โรงพิมพ์บ�ารุงนุกูลกิจ, ๒๔๖๘), ๓๔.
90 91