Page 590 - 100
P. 590
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
...นักเรียนชั้นปีที่ ๓ และปีที่ ๔ การปฏิบัติงานจะมีทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล จะขึ้น
วนเวียนไปครบทุกตึก ต้องทาคลอด ช่วยผ่าตัด และเป็นหัวหน้าเวร...” (ประจวบ วัฒนพงศ์ศิริ, ศิษย์เก่ารุ่น ๔๙
�
“เสี้ยวชีวิตพยาบาลชนบท” สารศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย, ๒๕๔๔, ๘๕)
“...นักเรียนทุกคนต้องฝึกงานที่ห้องผ่าตัด ขึ้นท�างานตั้งแต่ ๐๖.๐๐-๑๗.๐๐ น. ต้องท�าความสะอาด
ื
ั
ห้องผ่าตัดใหญ่ ๒ ห้อง ห้องเล็ก ๒ ห้อง อาทิ ผนังห้อง เตียงผ่าตัด ตู้เคร่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องท้งหมด
ดูรายการผ่าตัดประจ�าวัน ช่วยเตรียมเครื่องมือน�าไปต้ม ภายหลังแล้วเสร็จน�าไปล้างท�าความสะอาดเก็บเข้าที่
ให้เรียบร้อย หรืออาจเข้าช่วยส่งเครื่องมือระหว่างที่ผ่าตัด หลังเวลา ๑๗.๐๐ น. ไปแล้ว นักเรียนที่ถูกจัดให้เป็น
เวรนอกเวลา ต้องเตรียมตัวว่าจะถูกตามตัวให้ข้นห้องผ่าตัด เม่อมีการเปิดห้องผ่าตัดฉุกเฉิน...” (ท่านผู้หญิง
ื
ึ
ประเทือง คชภักดี “การด�าเนินชีวิตเกี่ยวกับวิชาชีพพยาบาลของข้าพเจ้า, สารศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย,
๒๕๔๐, ๒๕)
ในการเรียนชั้นปีที่ ๓ และปีที่ ๔ จะมีอาจารย์พิเศษจากภายนอกมาสอน อาจารย์บางท่านน�านักเรียน
ไปทัศนศึกษาเพื่อประกอบการเรียน เช่น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา โรงฆ่าสัตว์ (ของเทศบาล) โรงงานของ
บริษัทนมโฟร์โมส ซึ่งมักจะมีบริการไอศกรีมไม่อั้น เป็นที่ชอบใจของนักเรียน การเยี่ยมชมการผลิตอาหารและ
ทดลองนั่งภายในเครื่องบินของบริษัทการบินไทยที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ที่ขาดไม่ได้คือ ทัศนศึกษาพระบรม
มหาราชวัง พระราชวังบางปะอิน สถานพักฟื้นสวางคนิวาสและโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา
“...ตอนเรียนปีที่ ๓ วิชาการพยาบาลจิตเวช เป็นวิชาที่ท�าความหนักใจให้มาก เพราะโลกของคนไข้
เป็นโลกอีกด้านหนึ่งที่ไม่อาจเข้าไปรับรู้ได้ เมื่อกลับมาจากโรงพยาบาลจิตเวชให้รู้สึกว่า เหมือนกลับมาจากเดิน
ทางไกล แสนไกล เหนื่อยใจมากทีเดียว แต่ก็ผ่านไปด้วยดี...” (หนังสืออนุสรณ์พยาบาลสภากาชาดไทย รุ่น ๗๔,
๒๕๓๑)
“...เมื่อเลื่อนขึ้นเรียนชั้นปีที่ ๔ เวรบ่ายและดึกต้องรับผิดชอบงานมากขึ้น ท�าหน้าที่หัวหน้าเวรนักเรียน
ปีที่ ๑, ๒ และ ๓ หรือบางแห่งต้องท�างานอยู่เวรเพียงคนเดียว หรือบางครั้งร่วมรับผิดชอบงานกับพี่พยาบาล
ต้องฝึกงานนอกโรงพยาบาล เช่น สถานีอนามัยที่ ๒ แผนกอนามัยโรงเรียน (ตามโรงเรียนที่ได้ก�าหนดไว้) สถาน
ที่เลี้ยงเด็กก�าพร้าและเด็กพิการทางสมอง ตา และหู โรงพยาบาลกามโรค (โรงพยาบาลบางรัก) บางแห่งต้อง
เดินทางเวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๓๐ น. ถ้าโดนเวรบ่ายต้องรีบร้อนและเหนื่อยมาก...” (ท่านผู้หญิงประเทือง คชภักดี
การด�าเนินชีวิตเกี่ยวกับวิชาชีพพยาบาลของข้าพเจ้า, สารศิษย์เก่าพยาบาลสภากาชาดไทย, ๒๕๔๐, ๒๖)
“...เมื่อสอบภาคปลายปีที่ ๔ เรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีโอกาสออกฝึกอนามัยชุมชนและการรักษาขั้นต้น
ที่ต่างจังหวัดในภาคอีสาน การฝึกครั้งนี้ประทับใจกันอยู่ไม่รู้หายกันทุกๆคน เป็นช่วงเวลา ๑ เดือนของชีวิตที่
คุ้มค่าทีเดียว...” (ศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย รุ่น ๘๑)
588 589